คำนำชมผลงานที่ได้รับรางวัลในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ : Introduction to the award-winning works of the National Exhibition of Art

with No Comments
คำชมผลงานที่ได้รับรางวัลในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติของศิลปิน ฉัตรมงคล อินสว่าง : Introduction to the award-winning works of the National Exhibition of Art : Artist Chatmongkol Insawang 1
คำชมผลงานที่ได้รับรางวัลในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติของศิลปิน ฉัตรมงคล อินสว่าง : Introduction to the award-winning works of the National Exhibition of Art : Artist Chatmongkol Insawang 2

คำนำชมผลงานที่ได้รับรางวัลในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ : Introduction to the award-winning works of the National Exhibition of Art

คำนำชมผลงานของศิลปิน ฉัตรมงคล อินสว่าง ที่ได้รับรางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทประติมากรรม ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 64 จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เจ้าฟ้า

…..ศิลปะเป็นเครื่องมือในการส่งเสียงเรื่องราวต่างๆในสังคม ทุกๆครั้งการแปรเปลี่ยนยุคสมัยหรือลักษณะการแสดงออกทางศิลปะ มักเริ่มต้นจากสภาพสังคมที่มีเหตุและปัจจัยที่เปลี่ยนไป…

…..จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น “ศิลปะ” ดูเหมือนว่าจะเป็นเครื่องมืออันดีในการบอกกล่าวว่า สังคมนั้นเราเป็นเช่นไร และกำลังหันเหไปในทิศทางใด เมื่อคนและสังคมต้องการอิสระเสรี ศิลปะก็เช่นกัน หากแต่คำว่าอิสระในการถ่ายทอดความคิดอ่านในศิลปะนั้น แตกต่างไปจากการแสดงออกทางความคิดในศาสตร์สาขาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการพูด/การบอกกล่าวความคิดอ่าน ที่ในศาสตร์อื่นๆอาจใช้ภาษาอันเป็นเครื่องมือในการแสดงออกเปเพื่อการสื่อสาร และการสื่อสารย่อมมีความชัดเจนตรงไปตรงมาด้วยบุคลิกภาพทางภาษานั้นๆ คำว่าเสรีภาพจึงเห็นได้จากสารที่ผู้สื่อสารนั้นส่งไปหากแต่ในทางศิลปะ (ทัศนศิลป์) ที่มีการรับรู้ทางสายตาเป็นหลักนั้น การแสดงออกย่อมมีมิติที่หลากหลายแตกต่างออกไปจากภาษา ความแยบยลในการนำเสนอสารออกไปสู่ผู้ชมจึงเป็นเลห์เหลี่ยมที่ศิลปินส่งผ่านศิลปะด้วยรสชาติที่พิสดาร ฉะนั้นคำว่าเสรีภาพในการแสดงออกทางศิลปะนั้นย่อมอุดมไปด้วยหนทางการแสดงออก หากแต่สาระซึ่งเป็นวิถีทางการแสดงออกต่างหาก ที่ทำให้สารที่ส่งออกมาไม่จืดชืดและกลับน่าติดตาม แม้กระทั่งในสังคมที่ดูเหมือนจะถูกกีดกันทางการแสดงออกทางศิลปะก็ตาม “ศิลปะมีช่องทางออกของการสื่อสารเสมอมา ศิลปินเองคือผู้ที่เลือกที่จะนำม่านหมอกต่างๆ มาปิดกั้นพร้อมด้วยข้ออ้างต่างๆ นานามากมายที่จะแสดงออก”

…..ตลอดระยะเวลากว่า 6 ศตวรรษ (การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2492) เวทีการแสดงแห่งชาติได้เดินทางควบคู่กับศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และพื้นที่ดังกล่าวนี้ได้มอบความรู้ ความเข้าใจ และฉายภาพสำคัญต่อประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยในประเทศไทยได้อย่างชัดเจน

…..ประเภทประติมากรรม

…..รางวัลต่อมาคือรางวัลประกาศนียบัตรกเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง

นายฉัตรมงคล อินสว่าง ในผลงานชื่อ “ธรรมวิสัยแห่งรูป” ด้วยเทคนิค เชื่อมโลหะ และเรซิ่นไฟเบอร์กลาส จากแนวคิดที่ว่า “ความทุกข์ที่เกิดจากความเจ็บป่วยในร่างกาย และบุคคลอันเป็นที่รัก นับเป็นประสบการณ์ที่ให้โอกาสได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติอย่างที่สุด การพิจารณาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในร่างกายด้วยสภาวะจิตอันสงบนิ่ง ทำให้พบเห็นลักษณะสามัญของธรรมชาติ ได้แก่ สภาวะการเกิด ดับ ความเสื่อม อาการขืนและไร้รูปไร้ตัวตน ที่จะสามารถดำรงสถานะใดสถานะหนึ่งไว้ได้ เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของรูปกายที่เกิดขึ้นทุกขณะ ความจริงของธรรมชาติที่ได้สัมผัสรับรู้ ทำให้เกิดการตระหนักรู้ต่อปรากฏการณ์ธรรมชาติ สามารถวางความทุกข์ที่ผูกไว้กับการมีอยู่ ดำรงอยู่ของร่างกายได้อย่างมหัศจรรย์” ได้ผลงานชิ้นดังกล่าวได้มีการหยิบยืมวิธีคิดทางพุทธศาสนามาใช้เป็นเส้นแกนหลักในการเข้าถึงสาระของผลงาน การเกิดดับ ไร้รูปตัวตน เป็นคำที่เรามับพบเห็นกันบ่อยในขอบเขตการสร้างสรรค์ศิลปะในประเทศไทย และในผลงานชิ้นดังกล่าวได้นำคำต่างๆเหล่านี้มาสร้างเป็นประติมากรรมกึ่งนามธรรมคล้ายกับร่างกายมนุษย์ที่กำลังขึ้นหรือลงบันไดเวียนว่าย เกิดดับไปไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยวัสดุที่เหมือนจะไม่สมบูรณ์อย่างเรซิ่นขึ้นรูป ซึ่งอาจทำให้ความรู้สึกเมื่อรับชมผลงานเกิดความรู้สึกไม่จีรัง พร้อมที่จะแปรสภาพเป็นสิ่งอื่นตามแต่จินตนาการ

Mr. Chatmongkol Insawang, in his work entitled “Thammasithi of the image” with the technique of welding metal and fiberglass resin. From the idea that “Suffering arising from illnesses in the body And loved ones It is an experience that offers the opportunity to be as close to nature as possible. Considering the changes that occur within the body with a calm state of mind. It found common characteristics of nature, such as the state of exhaustion, deterioration, rebellion and formlessness to be able to maintain any status due to the changes in the form that occur every moment. The truth of nature that has been felt Causing awareness of natural phenomena Can place the suffering that is tied to the existence The existence of the body is miraculous” This work has borrowed the Buddhist thinking as the main line of access to the essence of the work, often in the art scene in Thailand. And in this work, these words are used to create a semi-abstract sculpture, similar to the human body ascending or descending a spiral staircase, swimming endlessly. With materials that seem imperfect as molded resin which may make the feeling when watching the work Ready to transform into anything else as imagined

กฤษฎา ดุษฎีวนิช, หนังสือนำชม The 64th National Exhibition of Art. (นนทบุรี: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์, 2562), 7.