บทวิเคราะห์ผลงานของศิลปิน ในสูจิบัตร “TIME-LAPSE : REFLECTING ON THAI ART”

with No Comments

บทวิเคราะห์ผลงานของศิลปิน ฉัตรมงคล อินสว่าง โดย นิ่ม นิยมศิลป์ ในสูจิบัตรนิทรรศการศิลปะ “TIME-LAPSE : REFLECTING ON THAI ART” นิทรรศการครั้งสำคัญของสมาคมนักสะสมศิลปะไทย (TACA) ในโอกาสการเปิดตัวแกลเลอรี่ 333 Anywhere อย่างเป็นทางการ

Analysis of the works of the artist Chatmongkol Insawang by Nim Niyomsilp in the catalog of the art exhibition “TIME-LAPSE : REFLECTING ON THAI ART”, an important exhibition of the Thai Art Collectors Association (TACA) on the occasion of the official opening of the gallery 333 ANYWHERE.

ฉัตรมงคล อินสว่าง Chatmongkol Insawang การสะสมศิลปะไทย สมาคมนักสะสมศิลปะไทย ศิลปินไทยคนสำคัญ 12

ร่างกายและจิต

สำหรับศิลปินหลายคนร่างกายและจิตใจของมนุษย์ สิ่งที่ทุกคนคุ้นเคยถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์และแรงบันดาลใจในงานสร้างสรรค์ ดังจะเห็นได้ตั้งแต่ภาพวาดของคนล่าสัตว์บนผนังถ้ำในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาพ สัญลักษณ์และตัวแทนของพระเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในแต่ละศาสนาจนมาถึงปัจจุบัน งานแสดงสดที่ศิลปินใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือในการแสดงออก

รูปลักษณ์และเรือนร่างถูกนำมาใช้เพื่อเน้นนำเสนอในเรื่องของอัตลักษณ์ อุดมการณ์และเรื่องราวต่างๆ ศิลปินชลูด นิ่มเสมอ ได้ใช้เรือนร่างของผู้หญิงสื่อถึงค่านิยมของสังคมที่มีต่อบทบาทของเพศหญิงในยุคสมัยหนึ่ง ศิลปินหญิงหลายคนเลือกที่จะใช้ส่วนของร่างกายที่สื่อถึงเพศหญิงในการนำเสนอ บันทึกและแสดงออก เช่นในงานของพินรี สัณฑ์พิทักษ์ ที่พูดถึงบทบาทของการเป็นผู้ให้ ฟูมฟัก ดูแล หรืออิ่มหทัย สุวัฒนศิลป์ที่สํารวจถึงบทบาทหน้าที่ สภาวะจิตใจและร่างกายของตนเอง นูรียา วาจิ เลือกที่จะนำเสนอภาพของหญิงชาวมุสลิมท่ามกลางปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้ ร่างเปลือยของชายหนุ่มยืนหันหน้าไปหาสายรุ้ง ถูกนำเสนอผ่านผลงานของช่วง มูลพินิจ, กวิตา วัฒนะยังกูร ใช้ร่างกายของเธอเองเพื่อสื่อถึงปัญหาในสังคม บางครั้งร่างกายมนุษย์ถูกมองเป็นเหตุแห่งทุกข์ เช่นในงานของ ฉัตรมงคล อินสว่าง ความเจ็บป่วยของมารดากับหลักคําสอนในพุทธศาสนาทำให้เขาสร้างผลงานที่ร่างกายมนุษย์ทำหน้าที่เป็นแค่เปลือกที่ห่อหุ้มจิตวิญญาณ หรือในงานของ อิทธิพล ตั้งโฉลก ที่ป่วยด้วยโรคพาร์กินสันก็เลือกที่จะสร้างผลงานเทคนิคสื่อผสมบนแผ่นฟิล์มเอกซเรย์ 

ศิลปินหลายคนเลือกที่จะใช้ภาพเหมือนบุคคล (portrait) เป็นสื่อในการนำเสนอ ตะวัน วัตุยา และมือบอนต่างเลือกนำเสนอปัญหาสังคมและการเมือง ผ่านงานประเภทนี้ ในขณะที่บางครั้งศิลปินเลือกที่จะบันทึกความทรงจําและแสดงความนึกคิดจิตวิญญาณในช่วงเวลาหนึ่ง ไม่ว่าจะดีหรือร้าย เช่นในผลงานของหริธร อัครพัฒน์ ศิลปินบางคนเลือกที่จะใช้ภาพเหมือนของตนเอง (self-portrait) เพื่อแสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกภายในหรือผลกระทบจากเรื่องราวภายนอก เช่นในงานของ สุเชาว์ ศิษย์คเณศ และวสันต์ สิทธิเขตต์ 

ในด้านของภาวะจิตใจพศุตม์ กรรณรัตนสูตร นำเสนอเรื่องของเวลาจิตใจมนุษย์และสภาวะจิตใน ขณะที่ศิลปินหลายคนได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธและคําสอน เช่นประเทือง เอมเจริญ ค้นพบความสุขสงบผ่านทางธรรมะและธรรมชาติ ผลงานของคามิน เลิศชัยประเสริฐ นำเสนอสัจธรรมของชีวิต และวิภู ศรีวิลาศ ที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับสัญลักษณ์ของความเชื่อและบูชา

นิ่ม นิยมศิลป์

BODY AND MIND 

The body and mind have been a source of inspiration for many artists. They are aspects and symbols that we are most familiar with and most connected to. These depictions can be seen in ancient cave paintings of hunters, the religious representation of holy spirits, or more modern forms such as performance art, where the body becomes a tool. 

Human bodies are used to emphasise certain ideologies, identities and narratives. Chalood Nimsamer used the female body to portray women’s roles and societal expectations. While other female artists use female body parts for self-expression and documentation, such as work by Pinaree Sanpitak, symbolising nature and nurture, and by Imhathai Suwatthanasilp, exploring her role, mental and physical conditions. Nuriya Waji presents an image of Muslim women against a backdrop of conflicts in the South. We find a painting of a nude male facing the rainbow in work by Chuang Moolpinit. Kawita Vatanajyankur uses her own body to reflect on social problems. The body can be a source of suffering. Influenced by Buddhism and facing his mother’s illness, Chatmongkol Insawang‘s work presents the body as an outer shell for the soul. Ittipol Tangchalok, who is suffering from Parkin- son’s, created mixed media on x-ray films. 

Portrait, a very popular genre, has become a tool for many artists. Tawan Wattuya and Mue Bon use it to reflect on social and political issues. Work can also help preserve the memory and capture the moment, spiritually, good or bad, as seen in Haritorn Akarapat’s work. For some, a self-portrait is a way to express artists’ in- ner condition or surroundings, as in works by Suchao Sisganes and Vasan Sitthiket. 

Exploring psychological state, Pasut Kranrattanasuat looks at the idea of time, the human mind and hypnosis. With Buddhist teaching as the primary influence, Pratuang Emjaroen turns to nature as a way to find peace and happiness, while Kamin Lertchaiprasert finds life’s unavoidable truth. Set against religion and belief, Vipoo Srivilasa challenges the notion of symbols of worship. 

Nim Niyomsilp

6 | Time-lapse: reflecting on Thai art

____________________________
อ้างอิงและขอขอบคุณ
บทความในสูจิบัตรการแสดงนิทรรศการ “TIME-LAPSE : REFLECTING ON THAI ART”
โดยการดำเนินงานร่วมกันระหว่างสมาคมนักสะสมศิลปะไทย (TACA) ร่วมกับ 333 ANYWHERE
ภัณฑารักษ์ นิ่ม นิยมศิลป์

ฉัตรมงคล อินสว่าง Chatmongkol Insawang การสะสมศิลปะไทย สมาคมนักสะสมศิลปะไทย ศิลปินไทยคนสำคัญ 1
ฉัตรมงคล อินสว่าง Chatmongkol Insawang การสะสมศิลปะไทย สมาคมนักสะสมศิลปะไทย ศิลปินไทยคนสำคัญ 2
ฉัตรมงคล อินสว่าง Chatmongkol Insawang การสะสมศิลปะไทย สมาคมนักสะสมศิลปะไทย ศิลปินไทยคนสำคัญ 3
ฉัตรมงคล อินสว่าง Chatmongkol Insawang การสะสมศิลปะไทย สมาคมนักสะสมศิลปะไทย ศิลปินไทยคนสำคัญ 4
ฉัตรมงคล อินสว่าง Chatmongkol Insawang การสะสมศิลปะไทย สมาคมนักสะสมศิลปะไทย ศิลปินไทยคนสำคัญ 5