บทวิเคราะห์ผลงานของศิลปิน ฉัตรมงคล อินสว่าง ในหนังสือ “PRIMAVERA: ศิลปะร่วมสมัยเนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปีมหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและ ภาพพิมพ์” เพื่อศึกษาพัฒนาการความเป็นมาของศิลปะในประเทศไทย แต่ละช่วงเวลาผ่าน ผลงานศิลปะ ร่วมสมัยของศิลปินไทย
กล่าวนำ
อาจกล่าวได้ว่า เราเป็นประจักษ์พยานในยุคที่ศิลปะร่วมสมัยในโลกขยายตัวอย่างกว้างขวาง เชื่อมต่อกันอย่างไร้ ขอบเขต ศิลปินเดินทางไปมาหาสู่กันสร้างสรรค์งานศิลปะและจัดแสดงงานร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์กันทั้งแบบ ทางตรงและแบบผ่านสื่ออย่างไร้ข้อจำกัด ในอีกทางหนึ่งศิลปะเองก็เผชิญหน้ากับการสร้างสรรค์สาขาอื่น ๆ ในโลกและถูกท้าทายรวมถึงชักชวนให้สนทนาร่วมกันแบบไม่เคยมาก่อน ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ เช่นงานออกแบบสาขาต่างๆหรือสื่อประเภทใหม่ ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนในระดับสากลของโลก อย่างแท้จริง ไปจนกระทั่งงานส่วนที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับศิลปะเท่าใดนัก เช่น การค้นพบใหม่ทาง วิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นในแทบจะทุกวินาทีหรือการค้นพบทางจิตวิญญาณที่เป็นคำถามสำคัญแห่งยุคสมัยเป็นต้น
ใน 75 ปีที่ผ่านมาคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ได้ทำการผลิตศิลปินและคนทำงานที่เกี่ยวข้องกับ ศิลปะสาขาต่าง ๆจำนวนมากแน่นอนว่างานศิลปะย่อมมีความหลากหลายทั้งในแง่วิธีคิดกับรูปแบบที่ ตามมา
บทความนี้เป็นการสำรวจรูปลักษณ์ ความคิดและวิธีการในการสร้างสรรค์ของศิลปินร่วมสมัยจากผลผลิตของ คณะฯ ที่ประกอบไปด้วยผลงานจากศิลปินรุ่นอายุมากกว่า 80 ปีได้ทันศึกษากับท่านผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย มาจน กระทั่งศิลปินอายุเยาว์ที่แทบจะเพิ่งเดินออกจากมหาวิทยาลัยไปเมื่อวันก่อน แต่ในขอบข่ายขอบระยะเวลาที่ กว้างขวางนี้ เราเห็นพลังของการสร้างสรรค์ศิลปะที่เบ่งบานและเบิกบานราวกับหน่ออ่อนของกิ่งก้านและดอกตูม แห่งฤดูใบไม้ผลิที่พร้อมจะเบ่งบานเปล่งสีสันความงามและกลิ่นหอมจรุงใจภายใต้แสงอันอ่อนโยนของดวงอาทิตย์ยามเช้า
ในการสำรวจทั้ง 10 หัวข้อและภายใต้บริบทของบทความขนาดสั้นอาจจะทำให้การสำรวจไม่ทั่วถึงอย่างไร ก็ตามผู้เขียนได้พยายามชดเชยด้วยการนำเสนอวิธีมองศิลปะ ที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการพินิจพิจารณาจาก มุมมองของผู้ชมรวมถึงสังคมที่ศิลปะสถิตอยู่มากขึ้น นอกจากนี้ยังใช้แนวทางการทำความเข้าใจงานศิลปะ จากแง่มุมที่ต้องอาศัยวิธีการเฉพาะ ดุจดั่งการอาศัยสูตรคณิตศาสตร์หนึ่ง ๆ เพื่อแก้ไขโจทย์ที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับงานศิลปะที่ก็ดูจะมีโจทย์ และวิธีการไขโจทย์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกันการแยกแยะเนื้อหาออกเป็น 10 ประเด็นและเห็นได้ชัดว่ายังสามารถเพิ่มเติมได้อีกนั้น บ่งชี้ให้ เห็นว่าภายใต้สังคมวัฒนธรรมรรมที่มีความหลากหลาย ศิลปะก็มีศักยภาพที่จะโอบรับเอาประเด็นดังกล่าวมาทำ การสร้างสรรค์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในแง่การพัฒนาแนวความคิดและรูปแบบกับการใช้สื่อที่เหมาะสม กับเนื้อหา อันมีแต่สังคมที่อุดมด้วยศิลปินคุณภาพเท่านั้นที่จะทำการสร้างสรรค์ในระดับนี้ได้
______________________________________
“Man’s naked form belongs to no particular moment in history: It is eternal, and can be looked upon with joy by the people of all ages.”
Auguste Rodin
. . . . .
ร่างกายมนุษย์เป็นหัวข้อในการสร้างสรรค์ศิลปะที่สำคัญในหลายประเด็น ในฐานะที่เรายึดถือมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Anthropocentric) เราย่อมมองเห็นว่าร่างกายของเรางดงามที่สุดดังแสดงออกมาในประวัติศาสตร์ศิลปะ ตะวันตกในทางปรัชญาหรือจิตวิญญาณ ร่างกายนั้นเป็นสถานที่ที่เราสุขและทุกข์ดีใจและเสียใจการยุติร่างกาย (และจิต) ด้วยการไม่เกิดจึงเป็นความหวังสูงสุดของศาสนา การสร้างสรรค์ศิลปะเพื่อแสดงสภาวะนี้ไม่ง่าย แต่ก็มีงานชั้นเลิศปรากฏมาในฐานะพระพุทธรูปจำนวนมาก ที่ตีความแตกต่างกันไปตามช่วงเวลา ร่างกายจึงเป็น เสมือนสนามประลองกำลังของความคิดในแต่ละเรื่องและแต่ละยุคสมัย ในศิลปะสมัยใหม่ของไทยเนื่องจากมี ประเพณีที่สืบเนื่องมาจากศิลปะตะวันตก จึงมองว่าร่างกายสามารถแสดงความงามได้เช่นกัน มีผลงานประติมากรรมจำนวนมากที่สร้างสรรค์ขึ้น แต่ในศิลปะร่วมสมัยนั้น ร่างกายแบบงดงามสมบูรณ์ (ในแง่เพศวัยและความรู้สึก บางอย่าง) นั้น ไม่เพียงพอต่อการแสดงออกแล้ว
ตามแนวคิดของการแยกประติมากรรมตามกระบวนการทำงานของประติมากร ที่มักแยกออกเป็นสองสาย คือ สาย“ คอปกน้ำเงิน” กับ“ คอปกขาว” สาย“ คอปกน้ำเงิน” อันหมายถึงประติมากรที่เน้นกระบวนการ ก่อ รูปผลงานด้วย“ มือ” ของตนเอง ลุยกับวัสดุและเครื่องไม้เครื่องมือด้วยมือตัวเองไม่ว่าจะใช้วัสดุที่มี ที่มาที่ไป ในประวัติศาสตร์ เช่น หิน ไม้ หรือกระทั่งดินที่เป็นวัสดุพื้นฐาน หรือจะใช้วัสดุที่แปลกใหม่เช่นวัสดุจากระบบ อุตสาหกรรมโลหะผ้าลวด ฯลฯ ประติมากรกลุ่มนี้มักจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับทุกขั้นตอนของกระบวนการสร้างสรรค์ หรือถ้าไม่เช่นนั้นก็เป็นคนผลิตงานชิ้นนั้นในทุกขั้นตอนด้วยตนเอง
แม้จะถูกค้นคว้าในฐานะหัวข้อของศิลปะมาต่อเนื่องมากกว่าสองพันปี แต่ร่างกายมนุษย์ก็ยังคงเป็นปริศนา ที่ ยิ่งใหญ่ในประติมากรรมร่วมสมัยศิลปินอย่างอันโทนีกอร์มสี (Anthony Gornley ค.ศ. 1950-) ใช้ร่างกายตัวเอง ในฐานะมาตรวัดโลก ด้วยเหตุที่ศึกษาศาสนาของโลกตะวันออกด้วยการตั้งคำถามของศิลปินผู้นี้เป็นไปในทาง ปรัชญาของการดำรงอยู่/การไม่ดำรงอยู่ของร่างกายและจิต ในหนังสือที่น่าสนใจคือ Anthony Sornley on Sculpture ศิลปินนำเสนอภาพพระพุทธรูปที่บามิยันที่คงสภาพสมบูรณ์ กับสภาพหลังถูกทำลายให้เหลือแต่ ร่องรอย ศิลปินชี้ว่าการทำให้หน้าผาที่ตั้งพระพุทธรูป“ ว่างเปล่า” นั้นยิ่งทำให้สาระสำคัญของพุทธศาสนา ปรากฏ8 ออกมาความว่างเปล่าจะถูกแสดงออกผ่านรูปทรงได้อย่างไรและจะเชื่อมโยงกับร่างกายมนุษย์ได้อย่างไร
ฉัตรมงคล อินสว่าง พยายามตอบคำถามเหล่านี้ ด้วยผลงานชุดลมหายใจของร่างกาย ศิลปินเริ่มต้นตั้งแต่การร่าง ภาพด้วยดรออิ้งขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับขนาดคนจริง งานดรออิ้งเหล่านี้ แสดงร่างกายคนที่กำลังเคลื่อนไหว หรือบิดเบี้ยวไปด้วยความเจ็บปวดไปจนกระทั่งก่อรูปประติมากรรมด้วยวัสดุที่หลากหลาย ในชุดที่เป็นโครงลวด เหล็ก ที่ดูจะเป็นงานที่สอดคล้องกับประเด็นเรื่องลมหายใจมากที่สุดนั้น เราเห็นอย่างแน่ชัดว่านั่นคือรูปร่างของคน ที่กำลังเคลื่อนไหว แม้ฝีมือของศิลปินจะจัดเจนมากพอที่จะสร้างรูปจากลวดกรงไก่ให้เราเข้าใจได้ว่า นั่นคือ ร่างกายของมนุษย์เพศชายที่กำลังดิ้นรนต่อสู้กับบางสิ่งบางอย่าง เราอาจจะนึกไปถึงอาการเจ็บป่วยที่ศิลปิน กำลังต่อสู้หรือนั่นคือภาพความเจ็บป่วยทางจิตของมนุษย์ ความโปร่งเบาทำให้อากาศผ่านเข้าออกเชื่อมต่อภายใน กับภายนอกรูปทรงอย่างอิสระ นอกจากเชื่อมต่อแล้ว ศิลปินยังทำให้เห็นว่าภายในร่างกายนั้นไม่มีเนื้อหาสาระ ของอวัยวะ เป็นเพียงอากาศแต่ศิลปินตีความว่าอากาศนี้ เป็นลมหายใจของประติมากรรมที่เชื่อมต่อกับลมหายใจ ของผู้ชม ประเด็นที่ชวนให้คิดต่อก็คือ ลมหายใจของเราเท่ากับเป็นลมหายใจของคนอื่นหรือในทางกลับกันเราเอง ก็ไม่ได้เป็นตัวของเราเองมากนัก แต่เป็นส่วนหนึ่งกับลมหายใจของมนุษย์ร่วมโลกของเราด้วย ปรัชญาอันเรียบง่าย แต่ลึกซึ้งนี้ สื่อความออกมาเป็นรูปธรรมของรูปทรงมนุษย์ (ภาพประกอบที่ 12)
______________________________________
8 Antony Gormley On Sculpture edited by Mark Holborn. (London: Thames and Hudson) 2015.
ผู้เขียน
ชัยยศ อิษฏ์วรพันธุ์, เบ่งบานและแตกกิ่งก้าน : ศิลปะของเรา บทวิเคราะห์ใน, PREMAVERA, (กรุงเทพฯ:ทวีวัฒน์การพิมพ์, 2019), 380.
Introduction
We are witnessing the borderless expansion of contemporary art. Artists travel around the world, create art and join hands to exhibit works. They have limitless face-to-face and digital Interaction with each other. Art gets to know other fields as it was challenged and invited to have a collaboration with them for the first time. Some of them are related to art such as many types of design or new media that have a global-scale impact. Others seem to have no connection with art, for example, a new scientific discovery that happens almost every second or a spiritual discovery that raises the great question of the era.
For the past 75 years, the Faculty of Painting Sculpture and Graphic Arts has incubated artists and art-related professionals. Definitely, their concepts and forms of art are varied.
The following articles aim to examine forms, concepts and methods of the Faculty’s alumnl including the artists aged more than 80 years who were taught by the founder of Silpakorn university and the recent ones that just stepped out of the university. Throughout the history of the Faculty, the power of art creation has bloomed and been celebrated like the sprouts and buds that are ready to bloom in spring to reveal their colorful beauty and pleasant smell under the gentle ray of sunshine.
As they were conducted through only ten topics with short article format limits, the articles are not flawless. However, the writer tried to compensate for the imperfection by proposing the way of viewing art which is to view it as the way an audience does and take the society that gives birth to the art into consideration.Moreover, the specific methods to analyze artworks were used the same way as a mathematical formula used to solve a particular question. The specific way to interact with art is the key in this age as the question and the way to understand it is becoming more and more unique.
The contents which are divided into 10 topics is clear that more themes can de added. With this wealth of diversity, artists embrace and use the pluralism and multiculturalism, whether in their practices, concepts or media choices. Masterpieces are only housed in a society that is home to highly competent artists. As can be seen in this article.
______________________________________
“Man’s naked form belongs to no particular moment in history: It is eternal, and can be looked upon with joy by the people of all ages.”
Auguste Rodin
. . . . .
The human body is a significant subject matter in art creation. Since we are anthropocentric, the human body is the greatest beauty as shown through the history of western art. The body is where we philosophically or spiritually experience happiness and delight or suffering and sorrow. The termination of the body (and soul) with the hope of not being born again is the ultimate goal of Buddhism. It is not easy to portray this state. However, there are many masterpieces in the form of Buddhist statues which are interpreted differently at different times. The body is, therefore, the battlefield of concepts in each era. In Thai modern art which is influenced by western art, the body is regarded as a presentation of beauty as seen from many sculptures. Yet, the perfectly beautiful body (for its assigned sex, age or feelings) is not sufficient to fulfill the need of expression by contemporary artists.
When categorized by their working process, there are two types of sculptors: “Blue-Collar Sculptor” and “White-Collar Sculptor”. “Blue-Collar Sculptor” refers to sculptors whose focus is on sculpting by their own “hands” and they experience with materials and tools themselves. They use materials which have a long history such as stone or wood, or basic material, clay, for example, or new materials such as material from the industrial system, metal, fabric, wite, etc. The sculptor who is belonged to this category will be involved in every stage of art creation or will be the one who creates the work in every stage as planned.
Even though it is the subject matter which has been explored for more than two thousand years, the human body is still a great marvel for contemporary artists, Anthony Gormley uses his body to explore how we measure ourselves against the world. He gained his inspiration upon his learning of religions from the eastern world. He questioned the existence / nonexistence of body and mind. In the book named “Anthony Gormley on Sculpture”, Gormley exhibited the photos of the great Buddha of Bamlyan before and after the attack. He pointed out that the attack which made the place “empty” highlighted the essence of Buddhism.8 The questions are raised: how the emptiness can be conveyed through form and how it connects with the human body?
Chatmongkol Insawang tried to answer the questions through a set of works named the breath of the body. The artist began by creating life-size drawings to portray the moving bodies or the bending bodies caused by agony. Then, he created sculptures using different materials. The works created by wire mesh seem to be the most relevant to the breath. The human figure in motion is clearly presented. The artist’s well-trained skill transformed the wire mesh cage into the struggling body of a male human who seems to be fighting with something. It reminds us of the illness that the artist was trying to fight. It might be the portrayal of a human’s mental illness. The airy structure allowing the air to get in and out bridges the exterior and interior of the form. Besides, the artist shows us that the body contains only air and no organs. The breath of this sculpture connects with the breath of the audience. It left us to think that a person’s breath may be the same as another person’s. Similarly, one is not the only individual but is a part of the breaths of humans in the world. The simple yet deep philosophy is conveyed through the form of a human. (Figure 12)
______________________________________
8 Antony Gormley On Sculpture edited by Mark Holborn. (London: Thames and Hudson) 2015.
Author credit
Chaiyosh Isavorapant, Blooming and Rarmifying: On Our Artworks, PREMAVERA, (Bangkok:Thaweewat Publication, 2019), 380.