ประติมากรรมในโลกของวัตถุ : Sculptures in the tangible world
ผลงานของศิลปิน ฉัตรมงคล อินสว่าง ชื่อ “ธรรมชาติวิสัย หมายเลข 2”
“รูปคนในผลงานของฉัตรมงคลนั้นต่างออกไป ร่างคนในผลงานของเขามีเพียงเค้าโครงท่าทางเท่านั้น ผลงานของฉัตรมงคล มีความน่าสนใจด้วยท่าทางของคนในอากัปกิริยาต่างๆ ที่กำลัง ปีนป่ายขึ้นเพื่อไปสู่ที่สูง น่าสังเกตว่า รูปคนที่ปีนป่ายขึ้นไปได้นั้น ร่างของเขากลับกลายเป็นของเหลวหนืดๆ ไหลย้อยลงมากองบนพื้น เช่นเดียวกันกับประติมากรในกลุ่มอื่นๆ ฉัตรมงคล ก็เปลี่ยนคนให้เป็นวัตถุเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ประติมากรยังเน้นย้ำลักษณะดังกล่าว ด้วยการสร้างความแตกต่าง ระหว่างรูปร่างคนที่ดูเหลวกับพื้นที่ ที่ดูแข็งๆ เป็นรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งคนเหล่านั้นกำลังห้อมล้อมปีนป่ายกันขึ้นไป”
จักรพันธ์ วิลาสินีกุล. (2552).ประติมากรรมในสวน มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี. ประติมากรรมสร้างสรรค์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 65 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี. 84-58. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
“Nature’s Existence No. 2” by Chatmongkol Insawang
“Chatmongkol’s work features only the rough figure of men in action. The Works It is interesting with the gestures of people in various behaviors that are climbing up to reach higher places. It is worth noting that the picture of a person who can climb that up his body became a viscous liquid flowing down to the ground. Chatmongkol also tries to transform human into objects. He intentionally shows such characteristics by expressing the difference between the human figure which looks liquidated and the background that look rigid in geometric shape.
Jakapan Vilasineekul. (2009). The Sculpture Garden at Silpakorn University, Phetchaburi Information Technology Campus. The Sculpture Art Project. 84-85. 1st ed. Bangkok: Art and Culture Office Silpakorn University.